เริ่มต้นจากที่กรีก การสักเป็นการทำสัญลักษณ์เฉพาะใบหน้าของทาส และ อาชญากร ต่อมาการสักเริ่มแพร่หลายในทวีปยุโรป ต่อมาประมาณ ค.ศ. 787 การสักบนใบหน้าถือเป็นการลบหลู่ต่อพระผู้เป็นเจ้า
ในประเทศไทย การสัก หรือ สักเลกนั้นเป็นการทำเครื่องหมายที่ข้อมือ เพื่อแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกอง แต่ถูกยกเลิกไปในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่หน้าผาก หรือการสักท้องแขนใช้กับผู้ต้องโทษจำคุก แต่ยกเลิกในปี พ.ศ. 2475 รวมทั้งการสักยันต์เป็นเหมือนเครื่องรางของขลังตามความเชื่อ
ในญี่ปุ่น การสักเรียกว่า Irezumi ซึ่งมีความหมายว่าการเติมหมึก คาดว่าเริ่มปรากฏในประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 การสักจะประทับตาคนกลุ่มต่างๆ เพื่อแบ่งแยกเช่น เพชฌฆาต สัปเหร่อ อาชญากร จนกระทั่งเริ่มมีการสักแบบ Horibari ที่มักจะสักลวดลายต่างๆทั่วร่างกาย และเริ่มแพร่หลายในปี ค.ศ. 1750 โดยนิยมมากในหมู่ Eta ซึ่งเป็นกลุ่มคมฐานะชั้นต่ำที่สุด ลวดลายต่างๆมักเป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ตลอดจนเทพเจ้า ตามความเชื่อทางศาสนา และนิทานพื้นบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น